วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

สูตรการแยกตัวประกอบของพหุนาม


สูตรการแยกตัวประกอบของพหุนาม
พหุนาม
                  พหุนาม คือ นิพจน์สามารถเขียนในรูปเอกนามหรือสามารถเขียนในรูปการบวกของเอกนามตั้ง
     แต่สองเอกนามขึ้นไป
การแยกตัวประกอบของพหุนาม
              การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามนั้นในรูปของการคูณของพหุนามที่มีดีกรี
ต่ำกว่าพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป ax2 + bx +cเมื่อ a, b, c
เป็นค่าคง ตัวที่  a > 0 และ x  เป็นตัวแปร
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
            x2+ bx + c เมื่อ b และ c เป็นจำนวนเต็ม ทำได้เมื่อสามารถหาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณ
กันได้ c และบวกกันได้  b ให้ d และ e แทนจำนวนเต็มสองจำนวนดังกล่าว ดังนั้น
                      de = c
                  d + e = b
            ฉะนั้น x2 + bx + c = x2 + (d + e)x + de
                                     = ( x2 + dx ) + ( ex + de )
                                     = ( x + d )x + ( x + d )e
                                     = ( x + d ) ( x + e )
             ดังนั้น x2 + bx +c แยกตัวประกอบได้เป็น ( x + d ) ( x + e )
            ตัวอย่าง
                  (6x-5) (x+1) = (6x-5) (x) + (6x-5) (1)
                                    = 6x2 – 5x + 6x – 5
                                    = 6x2 + (5x+6x) – 5
                                    = 6x2 -5x +6x -5
                                    = 6x2 + x – 5
      
        การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์
              กำลังสองสมบูรณ์ คือ พหุนามดีกรีสองที่แยกตัวประกอบแล้วได้ตัวประกอบเป็นพหุนามดีกรีหนึ่ง
ซ้ำกัน
             ดังนั้น พหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์แยกตัวประกอบได้ดังนี้
                  x2 + 2ax + a2 = ( x + a )2
                  x2 – 2ax + a2 = ( x – a )2
รูปทั่วไปของพหุนามที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์คือ a2 +2ab + b2 และ a2 -2ab +b2 เมื่อ a
และ b  เป็นพหุนาม  แยกตัวประกอบได้ดังนี้
              สูตร a2 +2ab + b2 = ( a + b )2
                    a2 -2ab +b2 = (a-b)2

      การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง

พหุนามดีกรีสองที่สามารถเขียนได้ในรูป x2 – a2 เมื่อ a เป็นจำนวนจริงบวกเรียกว่า   ผลต่างของ
กำลังสอง
             จาก x2 – a2 สามารถแยกตัวประกอบได้ดังนี้ x2 – a2 = ( x + a ) ( x – a )
             สูตร x2 – a2 = ( x + a ) (x-a)

      การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์
           การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง x2 + bx + c โดยวิธีทำเป็นกำลังสองสมบูรณ์ สรุป ได้คือ
           1. จัดพหุนามที่กำหนดให้อยู่ในรูป x2 + 2px +c หรือ x2 -2px +c เมื่อ p เป็นจำนวนจริงบวก
           2. ทำบางส่วนของพหุนามที่จัดไว้ในข้อ 1 ให้อยู่ในรูปกำลังสองสมบูรณ์โดยนำกำลังสองของ p          
               บวกเข้าและลบออกดังนี้
                           x2 + 2px +c = ( x2 + 2px + p2 ) – p2 + c
                                             = ( x + p)2 – ( p2 - c )
                          x2 – 2px + c = ( x2 - 2px + p2 ) – p2 + c
                                             = ( x - p)2 – ( p2 - c )
           3. ถ้า p2 – c = d2 เมื่อ d เป็นจำนวนจริงบวกจากข้อ 2 จะได้
                          x2 + 2px + c = ( x + p)2 – d2
                          x2 - 2px + c = ( x - p)2 – d2
           4. แยกตัวประกอบของ ( x + p )2 – d2 หรือ ( x – p )2 – d2 โดยใช้สูตรการแยกตัวประกอบ
              ของผลต่างของกำลังสอง
              การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสูงกว่าสองที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม
              พหุนามที่อยู่ในรูป A3 + B3 และ A3 - B3 ว่าผลบวกของกำลังสาม ตามลำดับ
                        สูตร A3 + B3 = ( A + B )( A2 –AB + B2)
                               A3 - B3 = ( A - B )( A2 +AB + B2)
                                    


วีดีโอประกอบ





อ้างอิง https://sites.google.com/site/ubol24sites/srup-sutr-kar-yaek-tawprakxb-khxng-phhu-nam
วันที่ 4 กันยายน 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น